บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

แผนการจัดการเรียนรู้ "สงครามโลกครั้งที่ 1" โดยใช้ ASSURE Model

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม                 สาระ ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                                                              เรื่อง สงครามโลกครั้งที่ 1 สาระสำคัญ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: World War I หรือ First World War ) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม ( Great War ) เป็นสงครามใหญ่ที่มีศูนย์กลางในยุโรป เกิดขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 1914 – 1918 คู่ความขัดแย้งคือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี การสู้รบเกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกเป็นการรบรูปแบบสนามเพลาะ ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างขวางและมีเครือข่ายทางรถไฟจำกัดทำให้ไม่สามารถรบรูปแบบสนามเพลาะได้ ขณะที่แนวรบตะวันออกกลางและแนวรบอิตาลีก็มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเช่นกัน การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน   (  Analyze Learner Characteristics  )           โรงเรียนเพลินพิชญ์ เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่มีวิวทิวทัศน์ข้างหลังโรงเรียนเป็นผืนป่าของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ

สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I)

รูปภาพ
สงครามโลกครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2457 - 2461 World War I : 1914 – 1918 retrieve : http://www.bbc.co.uk/guides/z8sssbk สาเหตุ 1. ลัทธิชาตินิยม ( Nationalism ) ดังเช่นในกรณีที่รัสเซียต้องการเป็นผู้ปกครองชนชาติสลาฟในคาบสมุทรบอลข่านที่เชื่อว่ามีเชื้อสายเดียวกันกับรัสเซีย และจากความต้องการของรัสเซีย ทำให้เกิดปัญหากับออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงว่า รัสเซียมีความระลึกนึกถึงประชนชน ชนชาติเดียวกัน แม้จะอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอื่นก็ตาม 2 .ลัทธิจักรวรรดินิยม ( Imperialism ) จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดความเจริญรุ่งเรืองทำให้ประเทศมหาอำนาจของยุโรปใช้พลังอำนาจของตนเองออกแสวงหาดินแดน ทรัพยากร ผลประโยชน์และตลาดเพื่อกระจายสินค้าของประเทศตนไปยังประเทศอื่นที่คิดว่าเป็นประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งอาจแสวงหาโดยอาศัยความเหมือนกันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เชื้อชาติ เพื่อเข้าไปแทรกแซงนโยบายของรัฐที่ด้อยกว่า ตัวอย่าง หลังจากเยอรมนีได้รับชัยชนะ ก็เกิดการรวมกลุ่มพันธมิตร 3 จักรวรรดิ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซีย เพื่อป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส retrieve: https://iht