สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I)
สงครามโลกครั้งที่ 1 พุทธศักราช
2457 - 2461
World War I :
1914 – 1918
retrieve : http://www.bbc.co.uk/guides/z8sssbk |
สาเหตุ
1.ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ดังเช่นในกรณีที่รัสเซียต้องการเป็นผู้ปกครองชนชาติสลาฟในคาบสมุทรบอลข่านที่เชื่อว่ามีเชื้อสายเดียวกันกับรัสเซีย
และจากความต้องการของรัสเซีย ทำให้เกิดปัญหากับออสเตรีย-ฮังการี
ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงว่า รัสเซียมีความระลึกนึกถึงประชนชน ชนชาติเดียวกัน
แม้จะอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอื่นก็ตาม
2.ลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism)
จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดความเจริญรุ่งเรืองทำให้ประเทศมหาอำนาจของยุโรปใช้พลังอำนาจของตนเองออกแสวงหาดินแดน
ทรัพยากร
ผลประโยชน์และตลาดเพื่อกระจายสินค้าของประเทศตนไปยังประเทศอื่นที่คิดว่าเป็นประเทศด้อยพัฒนา
ซึ่งอาจแสวงหาโดยอาศัยความเหมือนกันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เชื้อชาติ
เพื่อเข้าไปแทรกแซงนโยบายของรัฐที่ด้อยกว่า ตัวอย่าง
หลังจากเยอรมนีได้รับชัยชนะ ก็เกิดการรวมกลุ่มพันธมิตร 3 จักรวรรดิ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี
รัสเซีย เพื่อป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส
retrieve: https://iht-retrospective.blogs.nytimes.com |
ชนวน
อาร์ชดุก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์
รัชทายาทของออสเตรีย-ฮังการี ถูกลอบปลงพระชนม์ โดยนักศึกษาชาวบอสเนียที่มีชื่อว่า
กัฟรีโล ปรินซีป โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้ ออสเตรีย-ฮังการีปักใจเชื่อว่า
เซอร์เบียเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง จึงยื่นคำขาดให้ตอบข้อเรียกร้องภายใน 48 ชั่วโมง แต่เซอร์เบียก็พยายามผ่อนปรน แต่ออสเตรีย-ฮังการี
ก็ไม่สนใจและประกาศสงครามกับเซอร์เบียขึ้นในวันที่ 28
กรกฎาคม ค.ศ.1914
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
retrieve : https://sites.google.com/a/gaston.k12.nc.us/amh-dalton-seth/world-war-1-project |
retrieve : https://www.haikudeck.com/pictures-of-wwi-eastern-front-education-presentation-hbbeBPGdvn |
1914
1 สิงหาคม 1914
|
เยอรมันประกาศสงครามกับรัสเซีย
|
3 สิงหาคม 1914
|
เยอรมันประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเนื่องจากฝรั่งเศสท้าทายโดยยื่นข้อเสนอว่าจะส่งกองกำลังไปช่วยเหลือรัสเซีย
ทำให้เยอรมันยกพลไปโจมตีฝรั่งเศสทันที
ซึ่งใช้เส้นทางของเบลเยียมที่ประกาศตัวเป็นกลาง กลยุทธการต่อสู้ของเยอรมัน คือ รวดเร็ว สั้น
ดุเดือด และคล่องตัว จึงทำให้สามารถเอาชนะฝรั่งเศสที่ไม่ทันได้ตั้งตัวได้
ส่วนอังกฤษยื่นคำขาดกับเยอรมันเรื่องการเดินทัพผ่านเข้าไปในดินแดนของเบลเยียมตาม
“สัญญาค้ำประกันความเป็นกลาง” แต่ถูกเยอรมันปฏิเสธ
|
4 สิงหาคม 1914
|
อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมัน ทำให้ประเทศอาณานิคมของอังกฤษในขณะนั้นต้องเข้าร่วมสงครามโดยปริยาย
ได้แก่ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และแอฟริกาใต้
ส่วนสหรัฐอเมริกาประกาศตัวเป็นกลาง
|
การปะทะที่เทนเนนเบิร์ก
(Battle of tannenberg)
|
เทนเนนเบิร์กเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ
แห่งหนึ่งในปรัสเซียที่เป็นแนวรบฝั่งตะวันออก กองพลของเยอรมันภายใต้การบัญชาการของจอมพลฮินเดนเบิร์ก
(Paul
von Hindenburg)
และนายพลลูเดนดอฟฟ์ (Erich
von Ludendorff) ได้เข้าประจัญกับรัสเซีย
การปะทะครั้งนี้เป็นการปะทะครั้งแรกของสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งใช้เวลาประมาณ
5 วัน ผลสุดท้าย
กองทัพรัสเซียถูกตีแตกพ่ายปราชัยให้กับเยอรมัน คนรัสเซียนถูกจับตัวกว่า 125,000
คนและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งยังถูกขับไล่ออกจากปรัสเซียตะวันออกอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม
ชัยชนะอันงดงามของเยอรมันครั้งนี้ทำให้จอมพลฮินเดนเบิร์กและนายพลลูเดนดอฟฟ์กลายเป็นวีรบุรุษของประชาชนทั่วทั้งเยอรมัน
|
retrieve : http://www.ediblegeography.com/the-lost-sausages-of-world-war-i/ |
retrieve : https://www.pinterest.com/ejcanevari/wwi-u-boats/ |
1915
19 มกราคม 1915
|
เยอรมันดัดแปลงเรือเหาะ(Zeppelins)
เพื่อใช้ในการบรรทุกระเบิดทิ้งทางอากาศทำลายคู่ศัตรู
โดยเริ่มต้นโจมตีเป้าหมายแรกคืออังกฤษ แต่เนื่องจากเรือเหาะมีขนาดใหญ่
อ้วนท้วมและมีการป้องกันตัวเองต่ำ ทำให้กลายเป็นเป้านิ่งการตอบโต้กลับคืนทางอากาศของเครื่องบินรบอังกฤษ
|
31 มกราคม 1915
|
เยอรมันนำก๊าซพิษประมาณ 18,000 กระบอก
มาปล่อยในแนวรบฝั่งตะวันออก
เพื่อโจมตีกองกำลังของรัสเซียที่อยู่ทางตะวันตกกรุงวอร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์
แต่ก็ส่งผลกระทบเล็กน้อยต่อกองทัพรัสเซีย
เนื่องจากก๊าซพิษไม่สามารถระเหยได้ในอุณหภูมิที่เย็นจัด
|
18 กุมภาพันธ์ 1915
การสู้รบ
ด้วยเรือ U-Boat
|
เรือ U-Boat หรือ Undersea Boat เป็นเรือดำน้ำที่เยอรมันใช้เป็นอาวุธประจำกองเรือเพื่อสู้รบทางทะเลกับประเทศคู่สงคราม
เนื่องจากถูกอังกฤษกักเขตฝั่งทะเลของเยอรมัน
ใช้มาตราการเรียกเก็บค่าผ่านด่านทางทะเล และกีดกันการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ
เพื่อจัดการกับเรือสัญชาติเยอรมันให้หมดไปจากทะเลหลวง
เริ่มต้นโจมตีเรือพาณิชย์ที่แล่นอยู่บนน่านน้ำของอังกฤษ
อย่างไรก็ตามปฏิบัติการของเยอรมันที่เป็นไปอย่างฉาบฉวยและไม่จำกัดส่งผลให้สหรัฐอเมริกาที่ประกาศตัวเป็นกลางโกรธแค้นอย่างมาก
เนื่องจากมีพลเรือนชาวอเมริกันเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย
|
22 เมษายน –
25 พฤษภาคม 1915
การปะทะครั้งที่สอง
ที่เมืองอีพรอ
(Second Battle of Ypres)
|
เมืองอีพรอ
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเบลเยียม
เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะเยอรมันจะสามารถตัดเส้นทางการเดินทัพและการลำเลียงเสบียงอาหารของอังกฤษ
อีกทั้งยังสามารถบุกเข้าโจมตีฝรั่งเศสได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ในการปะทะครั้งที่สองในเมืองอีพรอ
เยอรมันใช้ก๊าซพิษครั้งแรกในแนวรบฝั่งตะวันตกเพื่อโจมตีฐานที่มั่นของกองทัพฝรั่งเศสที่อยู่รอบ
ๆ เมืองอีพรอ โดยปล่อยก๊าซพิษคลอรีนมากกว่า 5,000 กระบอก
เกิดเป็นควันคล้ายเมฆสีเขียวล่องลอยในอากาศเหนือที่ตั้งกองทัพของฝรั่งเศส-แอฟริกัน
ทำให้ทหารที่อยู่ในบริเวณนี้ต้องถอยล่าออกไปเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอาวุธเคมีชีวะนิวเคลียร์นี้
และความอันตรายของก๊าซพิษยังทำให้อังกฤษและแคนาดาไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวได้
จึงต้องถอนกำลังทหารออกจากแนวการป้องกันไปอยู่รอบ ๆ เมืองอีพรอแทน
การปะทะครั้งนี้ ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 58,000 คน และฝ่ายเยอรมันมีผู้เสียชีวิต 38,000 คน
|
1 พฤษภาคม 1915
|
เรือ U-Boat ของเยอรมัน ทิ้งระเบิดใส่เรือพาณิชย์บรรทุกน้ำมันสัญชาติอเมริกัน ชื่อ Gulflight ที่แล่นอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใกล้กับเกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี การสู้รบด้วยเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขตในมหาสมุทรแอตแลนติกเกิดขึ้นจากการที่เยอรมันประกาศให้น่านน้ำบริเวณเกาะอังกฤษเป็นเขตการสู้รบทางทะเลและประกาศกร้าวอย่างชัดเจนวาจะจมเรือพาณิชย์ทุกลำที่ลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ผ่านเข้ามาในเขตดังกล่าว
ไม่เว้นแม่แต่เรือของประเทศที่เป็นกลาง
|
7 พฤษภาคม 1915
|
เรือ RMS Lusitania ถูกยิงด้วยตอปิโดที่เรือ
U-Boat ปล่อยมา
เนื่องจากเรือพาณิชย์นี้ได้เข้ามาในน่านน้ำที่เยอรมันประกาศให้เป็นเขตสู้รบทางทะเล
ทำให้เรือลูซิทาเนียอัปปางลง ภายในเวลา 18 นาที หลังการระเบิดครั้งที่สอง
คร่าชีวิตผู้คนบนเรือไปประมาณ 1,201 คน
ซึ่งเป็นชาวอเมริกัน 128 คน
ส่งผลให้ชาวอเมริกันลุกขึ้นมาประท้วง และประธานาธิบดีวูดโร วิลสันส่งคำประท้วง 4
ข้อทางการทูตไปยังเยอรมัน
|
retrieve : http://trenchwarfareonthewesternfront.weebly.com/the-western-front.html |
1916
1 กรกฎาคม –
18 พฤศจิกายน 1916
การปะทะที่แม่น้ำซอมม์ ประเทศฝรั่งเศส
(Battle of the Somme)
|
หนึ่งในแนวรบฝั่งตะวันตกที่สำคัญคือสมรภูมิรบใกล้กับแม่น้ำซอมม์
โดยฝ่ายสัมพันธมิตร(อังกฤษและฝรั่งเศส)สู้รบกับฝ่ายเยอรมัน
ซึ่งถือเป็นการปะทะครั้งใหญ่ที่สุดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการใช้รถถังเป็นครั้งแรก
และเป็นการเข้าร่วมสงครามครั้งแรกของทหารอาสาชาวอังกฤษในนาม Kitchener's Army
อังกฤษและฝรั่งเศสต้องการจะใช้สมรภูมิรบบริเวณแม่น้ำซอมม์ทำลายฐานทัพเยอรมันที่ตั้งอยู่ตลอดแนวรบ
เพื่อขจัดเยอรมันให้ออกจากฝรั่งเศส แต่ก็ต้องเปลี่ยนแผน
เมื่อเยอรมันเข้าโจมตีฝรั่งเศสทางเมือง Verdun ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส
กองทหารของฝรั่งเศสจึงถูกส่งไปรบที่นั่นแทน
แต่อังกฤษก็ยังคงอยู่โจมตีที่แม่น้ำซอมม์เช่นเดิม
เพื่อทำลายกองกำลังเยอรมันให้ไขว้เขว
ก่อนการสู้รบกันในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มกระหน่ำยิงและทิ้งระเบิดตามแนวฝั่งกองทัพเยอรมัน
เพราะเชื่อว่าจะเป็นยุทธวิธีที่ทำลายแนวรบฝ่ายเยอรมันได้ แต่อย่างไรก็ตาม
ทหารเยอรมันก็ล่วงรู้ว่าจะมีการกระหน่ำยิงจากฝ่ายสัมพันธมิตร
จึงได้หลบอยู่ในที่ปลอดภัยและรอคอยจนสิ้นสุดการยิง ยุทธวิธีของฝ่ายสัมพันธมิตรครั้งนี้ทำลายป้อมปราการของเยอรมันได้เพียงเล็กเท่านั้น
อีกทั้งยุทโธปกรณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตรยังทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรปราชัยและอังกฤษต้องสูญเสียกองกำลังกว่า 18,000 คน
ในวันเริ่มแรกการปะทะที่แม่น้ำซอมม์ แม้จะมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ยังคงมุ่งหน้าโจมตีตามแนวรบต่อไป จนสามารถยึดดินแดนได้อีก 7
ไมล์ อย่างไรก็ตาม มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมากกว่า 623,000
คน จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั้งสองฝ่ายรวมกันทั้งสิ้นมากกว่า 1
ล้านคน
|
retrieve : http://www.history.com/this-day-in-history/february-revolution-begins-in-russia |
retrieve : http://www.azquotes.com/quote/566275 |
1917
ปฏิวัติรัสเซีย
|
สภาพสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของรัสเซียก่อนการปฏิวัติ
เป็นไปโดยมีกษัตริย์หรือซาร์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ควบคุมกองทัพ
เป็นเจ้าของที่ดิน และมีอำนาจกำหนดความเป็นไปของศาสนา
ชีวิตของประชาชนและชนชั้นกรรมาชีพในช่วงการเป็นประเทศอุตสาหกรรมก็ลำบากยากแค้น ถูกกดขี่สวัสดิการและเงินเดือนจากเจ้าของโรงงาน
เหล่าชนชั้นขุนนางก็ควบคุมดูแลประชาชนเยี่ยงทาสหรือสัตว์ทั้งที่มีกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิกำหนดไว้
เหตุการณ์ “วันอาทิตย์เลือด” หรือ Bloody
Sunday ตรงกับวันที่ 22 มกราคม 1905 เป็นเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การปฏิวัติในครั้งนี้
ชนชั้นกรรมาชีพจำนวนมากเดินขบวนไปที่พระราชวังของซาร์นิโคลัสที่ 2 ในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพื่อยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการได้รับสภาพการทำงาน
(Working Conditions)
ที่ดีขึ้นเพราะคิดว่าซาร์จะช่วยเหลือพวกเขา แต่หลังจากทหารของซาร์นิโคลัสที่ 2
สลายการชุมนุมด้วยการยิงใส่ประชาชนทำให้ความเชื่อถือและศรัทธาในตัวซาร์ลดลงและแรงกระเพื่อมของความต้องการปฏิวัติก็แผ่ขยายไปทั่วประเทศ
นอกจากนี้
การที่รัสเซียประกาศเข้าร่วมสงครามโลกที่ 1 โดยรบกับฝ่ายเยอรมันนั้น
ทำให้ทหารของรัสเซียซึ่งเป็นประชาชนชนชั้นกรรมาชีพต้องเสียชีวิตเกือบ 2 ล้านคน และอีกประมาณ 5 ล้านคนได้รับบาดเจ็บ
เพราะกองทัพของรัสเซียไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ทหารไม่ได้ถูกฝึกให้ชำนาญในการต่อสู้และการใช้อาวุธ
ทหารจำนวนหนึ่งไม่ได้ใส่รองเท้าและไม่ได้รับอาหารเพื่อประทังชีวิตในยามสงคราม
อีกทั้งต้องสู้รบด้วยมือเปล่า ทำให้พ่ายแพ้เยอรมัน
เงินทุนที่นำไปใช้ในสงครามก็หมดไปอย่างเปล่าประโยชน์
ส่งผลต่อการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ
การปฏิวัติ
เริ่มต้นขึ้นจากความไม่พอใจที่สั่งสมมานานของประชาชน
ทำให้มีการนัดหยุดงานเพื่อประท้วงและชุมนุมทางการเมือง
ซาร์นิโคลัสจึงสั่งให้ทหารในบัญชาการของพระองค์ปราบการจลาจลให้หมดสิ้น
แต่ทหารไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและเริ่มที่จะก่อกบฏร่วมกับประชาชน
การปฏิวัติทำให้ซาร์ต้องสละราชสมบัติ และราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองประเทศมา 303
ปีต้องสิ้นสุด รัฐบาลชั่วคราวถูกจัดตั้งขึ้นมา มีพรรคการเมือง 2 พรรค ได้แก่ พรรคโปโตรกราดโซเวียต (The Petrograd Soviet) ซึ่งเป็นตัวแทนจากชนชั้นกรรมาชีพและทหาร กับพรรครัฐบาลชั่วคราว (The
Provisional Government) ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่เคยเป็นรัฐบาลของซาร์
เพียงแต่ในครั้งนี้ไม่มีซาร์เป็นผู้นำพรรค
|
สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1
|
2 เมษายน 1917 ประธานาธิบดีวูดโร วิลสัน กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสภาคองเกรส (The
U.S. Congress) ว่า “The
world must be made safe for democracy”
เพื่อประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างความมั่นคงและจัดระเบียบโลกใหม่และนำไปสู่การปกป้องและพัฒนาประชาธิปไตย
6 เมษายน 1917 สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยรบกับฝ่ายเยอรมัน
|
ปฏิวัติเดือนตุลาคม, รัสเซีย
|
การปฏิวัติเกิดขึ้นอีกครั้งในเดือนตุลาคม
(ตามปฏิทินจูเลียน) หรือในเดือนพฤศจิกายน (ตามปฏิทินเกรโกเรียน) นำโดย วลาดิเมีย
เลนิน (Vladimir
Lenin) ผู้นำพรรคบอลเชวิค (Bolsheviks)
ที่ต้องการเปลี่ยนรัฐบาลชั่วคราวเดิมเป็นรัฐบาลตามแนวคิดคอมมิวนิสต์ของคาร์ล
มาร์กซ์ รัสเซียจึงกลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ชัยชนะในการปฏิวัติของพรรคบอลเชวิค
นำไปสู่การสงบศึกชั่วคราวและลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเบรสต์-ลีโตเวส (Brest-Litovsk) กับเยอรมัน รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของวลาดิเมีย เลนิน
ดำเนินการจัดการกับอุตสาหกรรมของประเทศ
และปรับย้ายภาคการเกษตรไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม
ยึดคืนที่ดินการเพาะปลูกจากชนชั้นศักดินา แล้วแบ่งสรรให้ประชาชน
อีกทั้งผู้หญิงมีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกับผู้ชาย และไม่ยอมรับการมีศาสนา
|
1918
การรุกของเยอรมัน
ในฤดูใบไม้ผลิ
(German Spring Offensive)
|
นายพลลูเดนดอฟฟ์
วางแผนการรุกในแนวรบตะวันตกซึ่งมีชื่อว่าแผนปฏิบัติการมิคาเอล (The Saint
Michael Offensive) เพื่อแยกกองทัพของอังกฤษและฝรั่งเศสออกจากัน
โดยกลยุทธในแผนปฏิบัติการดังกล่าว คือ จัดกองกำลังขนาดเล็ก พกอาวุธเล็ก
หลอกล่อคู่ศัตรูแล้วล้อมโจมตีอย่างรวดเร็ว
สามารถโจมตีกองทัพอังกฤษที่อเมนส์สามารถรุกเข้าไปได้ถึง 60 ไมล์ นอกจากนี้เยอรมันยังใช้วิธีการแทรกซึมตามแนวสนามเพลาะของฝ่ายสัมพันธมิตร
กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปใกล้กรุงปารีสมากขึ้นเท่าใด
ก็ทำให้การเคลื่อนย้ายขนส่งปืนใหญ่และรถถังเป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้นและการรุกก็ต้องหยุดชะงักลง
เป็นโอกาสของฝ่ายสัมพันธมิตร
นำโดยสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาผลัดเปลี่ยนกับทหารฝรั่งเศสในการโจมตีทหารเยอรมันให้แตกพ่าย
|
11 พฤศจิกายน 1918
การสิ้นสุด
สงครามโลกครั้งที่ 1
|
เมื่อชัยชนะตกเป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร
ทำให้เยอรมันต้องลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกในฐานะผู้แพ้สงคราม การลงนามมีขึ้นในเวลา
5 นาฬิกา ที่ตู้รถไฟ สถานีรถไฟเมืองชองปาญ (Compienge) ประเทศฝรั่งเศส แต่การสู้รบตามแนวรบฝั่งตะวันตกยังคงมีไปจนถึงเวลา 11
นาฬิกาของวันเดียวกัน
|
ผลของสงคราม
กลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี (Triple
Alliance)แพ้สงคราม
หลังจากที่ฮินดินเบิร์กแตกก็ดูเหมือนจะถึงเวลาที่เยอรมันจะต้องยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่
1 เพราะไม่เพียงแต่เกิดสัญญาณที่จะต้องยอมแพ้ในประเทศของตนเองเท่านั้น
ประเทศที่เป็นฝ่ายพันธมิตรของตนเองถึงคราวที่จะต้องยอมแพ้เช่นกัน
โดยเริ่มจากประเทศแรกซึ่งก็คือบัลแกเรีย
ที่ได้ข้อทำสนธิสัญญาสันติภาพขึ้นทั้งนี้เพราะบัลแกเรียแพ้สงครามให้แก่กรีซและเซอร์เบีย ในขณะที่ด้านออสเตรียมีปัญหาภายในประเทศอย่างหนักจนใกล้จะเกิดการปฏิวัติภายในขึ้น
อีกทางออสเตรเลียเองก็ต้องพ่ายแพ้สงครามให้แก่อิตาลี
ทำให้ต้องเสียดินแดนที่ออสเตรียเคยยึดครองจากอิตาลีมาได้
วันที่ 3 พฤศจิกายน 1918 ออสเตรเลียได้ข้อสรุปและต่อมากษัตริย์ของออสเตรียได้ประกาศสละราชสมบัติ
การทำสนธิสัญญาสงบศึก
เยอรมันเห็นว่าปัญหามากมายเริ่มก่อตัวขึ้นจนไม่สามารถต้านทานได้
จึงได้ตัดสินใจขอทำสนธิสัญญาสงบศึก ทำให้ตอน 05:00 น. ของเช้าตรู่ วันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 การลงนามสนธิสัญญาสงบศึกได้เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายพันธมิตรและเยอรมัน
โดยได้มีการลงนามในรถไฟโดยสารในป่ากองเปียญ
โดยผู้ลงนามหลักของฝ่ายพันธมิตรนั้นนี้ด้วยผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายพันธมิตร
จอมพลเฟอร์ดินานด์ ฟอช และ มัทธิอัส เออร์ซเบอร์เกอร์ ผู้แทนของเยอรมัน การสงบศึกดังกล่าวถือว่าเป็นข้อตกลงทางการทหารและแสดงให้เห็นว่าเป็นความพ่ายแพ้ย่างเด็ดขาดของประเทศเยอรมันในทันที
และในสนธิสัญญาการสงบศึกนั้นเองได้มีเงื่อนไขซึ่งถือว่ารุนแรงมาต่อเยอรมัน คือ
- ให้สิ้นสุดความเป็นปรปักษ์ทางทหารภายใน
6 ชั่วโมงหลังจากลงนาม
- ให้มีการเคลื่อนย้ายกองกำลังของเยอรมันทั้งหมดออกจากฝรั่งเศส
เบลเยียม ลักเซมเบิร์กและอัลซาสและลอร์เรนทันที
- ให้การเคลื่อนย้ายกองกำลังเยอรมันทั้งหมดออกจากดินแดนทางตะวันตกของและน้ำไรน์ บวกรัศมีของสะพานอีก 30 กิโลเมตรจากทางขวาของแม่น้ำที่เมืองไมนซ์
โคเบลนซ์และโคโลญน์ พร้อมทั้งให้มีการยึดครองโดยกองกำลังพันธมิตรและสหรัฐอเมริกาในภายหลัง
- ให้ถอนกำลังเยอรมันทั้งหมดในแนวรบด้านตะวันออกไปยังดินแดนเยอรมัน
- ปฏิเสธสนธิสัญญาเบรสต์-ลีตอฟส์กับรัสเซีย
สนธิสัญญาบูคาเรสต์กับโรมาเนีย
- นอกจากนี้ฝ่ายพันธมิตรทำการกักกันกองเรือของเยอรมันและให้มีการส่งมอบยุทธปัจจัยให้กับฝ่ายพันธมิตรเป็นจำนวนมาก
ต่อมาในเวลา 11 นาฬิกา วันเดียวกันนั้นเองการสงบศึกเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป
เสียงปืนใหญ่ที่ดังต่อเนื่องสงบลง พลเรือนทำการเฉลิมฉลองกันอย่างเต็มที่และรอยยิ้มก็เริ่มเบิกบานอีกครั้งบนใบหน้าของชนชาวยุโรปและชาวโลก
จึงถือได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ปิดฉากลงอย่างเป็นทางการ
ผลกระทบของประเทศเยอรมันภายหลังสิ้นสุดสงคราม
การเปลี่ยนแปลงเรื่องอาณาเขต
ประเทศเยอรมันต้องยอมยกมณฑลอัลซาซและลอร์เรนให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
และดินแดนบางส่วนให้แก่เบลเยี่ยม ส่วนหนึ่งของโปแลนและปรัสเซียตะวันตกต้องยกให้แก่โปแลนด์
ทางต้องยก เมเมลให้แก่ลิทัวเนีย
ดานซิกซึ่งเป็นนครอิสระ ลุ่มแม่น้ำซาร์ให้อยู่ภายใต้การปกครองของสันนิบาตชาติ ทั้งนี้ประเทศฝรั่งเศสเองก็มีสิทธิพิเศษที่จะสามารถขุดถ่านหินจากแคว้นซาร์เป็นเวลาถึง
15 ปี
การเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง
ประเทศเยอรมันนั้นต้องยอมยกเมืองขึ้นทั้งหมดของตนเองให้กับประเทศต่าง
ๆ ซึ่งก็คือเมืองขึ้นในประเทศแถบแอฟริกา ยกให้แก่ประเทศอังกฤษ เบลเยียมและฝรั่งเศส
ดินแดนเกือบทั้งหมดในจีนและทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกต้องยกให้แก่ประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน
เกิดประเทศเอกราชใหม่
retrieve : https://www.pinterest.com/alliepally2/world-war-i/ |
ซึ่งก็คือประเทศโปแลนด์ ฮังการี ยูโกสลาเวีย เช็กโกสโลวาเกีย ลัตเวีย เอสโตเนีย ลิทัวเนีย ฟินแลนด์และออสเตรีย
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
ประเทศเยอรมันจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่บรรดาประเทศที่ชนะสงคราม
โดยต้องจ่ายเป็นเงินสดและเป็นวัสดุหรือแรงงานและจะต้องจ่ายค่าเสียหายด้านผลงานศิลปะที่ถูกทำลายไปรวมถึงต้องฟื้นฟูเขตแดงที่เสียหายด้วยปศุสัตว์
เครื่องจักรกลและถ่านหิน และในขณะนั้นเองได้เกิดปัญหาเงินเฟ้ออย่างสาหัส
ส่งผลให้เยอรมันเข้าสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผลกระทบด้านการทหาร
อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดเพียงแค่กับประเทศเยอรมันอย่างเดียวเท่านั้น
แต่เกิดขึ้นกับประเทศทั่วโลกจนทำให้ต้องเกิดสันนิบาตชาติ
โดยสนธิสัญญาแวร์ซายกำหนดให้มีการจัดตั้งสันนิบาตชัดเจนโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ
การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างชาติและการให้ได้มาซึ่งความสันติและมั่นคงปลอดภัยของชาติ
ขอบคุณข้อมูลจาก
BBC. (2014). Life on the front line,
Retrieved June 15, 2016, from BBC:
http://www.bbc.co.uk/schools/0/ww1/25626530
Ducksters. (2016). World War I, Retrieved
June 15, 2016, from Ducksters:
http://www.ducksters.com/history/world_war_i/
GWPDA. (2016). The World War I Document
Archive, Retrieved June 15, 2016, from GWPDA:
http://www.gwpda.org/maps/maps.html
HISTORYNET
STAFF. (2014). Weapons of World
War I, Retrieved June 15, 2016, from History Net:
http://www.historynet.com/weapons-of-world-war-i.htm
The
Atlantic. (2014). World War I in
Photos, Retrieved June 15, 2016, from The Atlantic:
http://www.theatlantic.com/static/infocus/wwi/
The
History Place. (2009). World War I: Comprehensive Year-by-Year Timelines with Photos,
Retrieved June 15,2016, from History Place:
http://www.historyplace.com/worldhistory/firstworldwar/index.html
กระปุกดอทคอม. (2555). สงครามโลกครั้งที่ 1 บทเรียนประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ, ค้นหาเมื่อ 15
มิถุนายน 2559, จาก Kapook: http://hilight.kapook.com/view/80035
ชญานิน โล่สถาพรพิพิธ และคณะ. (ไม่ปรากฏปี).
บทบาทของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1, ค้นหาเมื่อ
15 มิถุนายน 2559, จาก ARC: http://www.acr.ac.th/acr/ACR_CAI/webpage-chutikarn/M31-
56/M31group4/page%203.html
บ้านจอมยุทธ. (2543). ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1, ค้นหาเมื่อ
15 มิถุนายน 2559, จาก Baanjomyut:
http://www.baanjomyut.com/library/world_war_1/03.html
ปัณฑ์ชนิตฬ์ บุญญารัตน์. (2557). สงครามโลกครั้งที่ 1 WW1 by MPS6-5 2014, ค้นหาเมื่อ 15
มิถุนายน 2559, จาก Youtube: https://www.youtube.com/watch?v=1HRNW_8RW1I
วีระชัย
โชคมุกดา. (2556). หนังสือสงครามโลก 1,2 (ฉบับสมบูรณ์) WORLD
WAR I,II, กรุงเทพฯ: ยิปซี.
สัญชัย
สุวังบุตร และคณะ. (2554). ทรรปณะประวัติศาสตร์ยุโรปในศตวรรษที่ 19,
กรุงเทพฯ:
ศูนย์หนังสือจุฬา.
อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์. (2544). มายาภาพของอุดมคติ
เอกสารคำสอน วิชาวรรณคดีกับประวัติศาสตร์
ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นเมื่อ 1
กรกฎาคม 2559, จาก Pioneer: http://pioneer.chula.ac.th/~tanongna/history/documents/11_allquiet.htm
(ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง).
(2559). สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ค้นหาเมื่อ 15 มิถุนายน 2559,
จาก Wikipedia:
https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น