แผนการจัดการเรียนรู้ "สงครามโลกครั้งที่ 1" โดยใช้ ASSURE Model
กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระ
ประวัติศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง
สงครามโลกครั้งที่ 1
สาระสำคัญ
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
(อังกฤษ: World
War I หรือ First World War)
หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม (Great War) เป็นสงครามใหญ่ที่มีศูนย์กลางในยุโรป เกิดขึ้นในระหว่าง ค.ศ.1914
– 1918 คู่ความขัดแย้งคือ ฝ่ายสัมพันธมิตร
ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ได้แก่ เยอรมนี
ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี การสู้รบเกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกเป็นการรบรูปแบบสนามเพลาะ
ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างขวางและมีเครือข่ายทางรถไฟจำกัดทำให้ไม่สามารถรบรูปแบบสนามเพลาะได้
ขณะที่แนวรบตะวันออกกลางและแนวรบอิตาลีก็มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเช่นกัน
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ( Analyze
Learner Characteristics )
โรงเรียนเพลินพิชญ์
เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่มีวิวทิวทัศน์ข้างหลังโรงเรียนเป็นผืนป่าของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) ผู้เรียนส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง
พื้นฐานทางครอบครัวอยู่ในระดับดี วัฒนธรรมในโรงเรียนเป็นความผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยละวัฒนธรรมสากล
จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เหตุการณ์สำคัญของโลกเพื่อให้รู้ความเป็นมาของโลกมากขึ้น
สามารถเชื่อมโยงอดีตเข้ากับปัจจุบันได้และที่สำคัญคือสามารถใช้อดีตเป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตในอนาคต
ลักษณะทั่วไป
ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 อายุอยู่ในช่วงกึ่งกลางระหว่างวัยรุ่นตอนต้นกับวัยรุ่นตอนปลาย มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในวัยเดียวกัน
รักความเป็นอิสระ ชอบลองทำสิ่งใหม่ ๆ เริ่มต่อต้านหรือท้าทาย
ลักษณะเฉพาะ
ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับ
“สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง” ในระดับเบื้องต้น จากการเรียนรู้ด้วยการท่องจำ
ยังขาดการเชื่อมโยงเรื่องราวกับเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนใหญ่เข้าใจทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(ฟัง พูด อ่าน เขียน) แต่หากมีคำศัพท์เฉพาะทางวิชาการหรือคำศัพท์ที่ใช้กับเหตุการณ์นั้น
ๆ ครูต้องอธิบายเพิ่มเติม นอกจากนี้ ผู้เรียนยังมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อค้นคว้าหาความรู้
แต่ยังขาดความรู้เท่าทันและการเลือกรับข้อมูลที่มีเหตุมีผลอย่างเพียงพอ ความสนใจต่อเนื้อหาวิชายังมีไม่มากเพราะผู้เรียนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องไกลตัว
การกำหนดวัตถุประสงค์ ( State Objectives )
ด้านพุทธพิสัย
(ความรู้)
-
ผู้เรียนสรุปเรื่อง “สงครามโลกครั้งที่ 1” เป็นองค์ความรู้ของตนเองได้
-
ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเรื่อง “สงครามโลกครั้งที่ 1” ได้
ด้านทักษะพิสัย
(ทักษะ)
-
ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเข้าถึงความรู้ได้
-
ผู้เรียนนำเสนอองค์ความรู้ “สงครามโลกครั้งที่ 1” ในรูปแบบของตนเอง
ด้านเจตพิสัย
(เจตคติ)
-
ผู้เรียนกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในห้องเรียน
-
ผู้เรียนควบคุมตนเองได้เมื่อได้รับรู้ถึงความคิดเห็นที่ขัดแย้ง
การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่ ( Select,
Modify, of Design Materials )
การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
-
หนังสือเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
-
หนังสือประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 1
-
คอมพิวเตอร์
-
สมาร์ทบอร์ด
สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
-
การอภิปรายกลุ่ม
การปรับปรุงหรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
นำเนื้อหามาย่อยและนำเสนอข้อความที่เป็นใจความสำคัญ
พร้อมภาพประกอบและวิดิโอ รวมทั้งตั้งคำถามเชิงวิพากษ์และคิดวิเคราะห์ นำเสนอผ่าน power point
presentation แล้วเปิดกับคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทบอร์ดภายในห้องเรียนที่ผู้เรียนสามารถขีดเขียนข้อความหรือวาดภาพให้เพื่อนร่วมชั้นได้เรียนรู้ไปในแนวทางเดียวกัน
ซึ่งช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้เรียนได้มากกว่าในหนังสือ
การออกแบบสื่อใหม่
ครูออกแบบกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมภายในห้องเรียน
โดยการให้ผู้เรียนรวมกลุ่มแล้วอภิปรายหัวข้อต่าง ๆ ภายในกลุ่มตนเองเพื่อหาข้อสรุปของกลุ่มก่อนแล้วจึงอภิปรายระหว่างกลุ่ม
การใช้สื่อ ( Utilize Materials )
-
ทบทวนเนื้อหาเพื่อคัดเลือกบทเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และทดลองใช้ก่อนเพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนลงมือปฏิบัติจริง
-
เตรียมสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก จัดเตรียมสถานที่ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและเหมาะสมกับกิจกรรมภายในห้องเรียน
-
เตรียมผู้เรียนให้พร้อมก่อนจะเรียน เช่น นำเสนอวิดิโอในลักษณะ Trailer เพื่อชวนให้ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาเบื้องต้นและชวนให้ติดตามต่อไป
-
การนำเสนอและการควบคุมชั้นเรียน ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ในขั้นต้น
ในระหว่างการอภิปรายระหว่างกลุ่ม ครูจะเสนอแนะความคิดเห็นและเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการอ้างอิงเพื่อให้ความคิดเห็นนั้นมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน ( Require
Learner Response )
ในระหว่างการนำเสนอแต่ละครั้ง
จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน เช่น เปิดให้ผู้เรียนถามคำถามที่สงสัย
หรือครูสุ่มถามผู้เรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ เมื่อเข้าสู่กิจกรรมการอภิปราย
ครูให้ผู้เรียนนำเสนอข้อคิดเห็นของตนเองทั้งโดยการพูดและการเขียนหรือทำสัญลักษณ์ต่าง
ๆ ตามที่ครูกำหนด โดยครูจะไม่เข้าไปแทรกระหว่างการการทำกิจกรรมของผู้เรียน
แต่ละคอยสังเกตอยู่ข้างนอกวงและควบคุมกิจกรรมให้เป็นไปตามขอบข่ายของเวลา
การประเมินการใช้สื่อ ( Evaluate and Revise )
ครูจะประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนได้จากการเขียนสะท้อนคิดและการอภิปรายภายในชั้นเรียน
สิ่งเหล่านี้จะทำให้ครูทราบว่า กิจกรรมในชั้นเรียนและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากน้อยเพียงใดและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ครูตั้งไว้หรือไม่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น